ติวเข้าการบินกับ Tiger Flight Tutor กัน!
ติวเข้าสถาบันการบินพลเรือน ติวการบิน ติวเตอร์ ติวสอบเข้าสถาบันการบิน ข้อสอบเข้า นักบิน วิศวกร หอบังคับการบิน แอร์โฮสเตส สถาบันการบินพลเรือน
ทำไมต้องติวกับ Tiger Flight Tutor?
Tiger Flight Tutor ประสบการณ์การสอนเข้าสู่รุ่นที่ 12 สอนโดยทีมงานศิษย์เก่าการบินเกียรตินิยมอันดับ 1 และรุ่นพี่จบตรงสถาบันการบินพลเรือน เก็งข้อสอบแม่นยำ สอนตรงจุด มีแนวข้อสอบอัพเดตทุกปี เนื้อหาแน่น ครบทุกวิชาพร้อมสอบ ยินดีให้คำปรึกษาผู้ปกครองและน้องๆ ฟรี
สถาบันการบินพลเรือนคืออะไร?
Center of Excellence in Aviation Training of Thailand
สถาบันการบินพลเรือน ศูนย์ชำนาญพิเศษด้านกิจการบินของประเทศไทย
สถาบันการบินพลเรือน จัดตั้งขึ้นในลักษณะของโครงการความร่วมมือระหว่างกองทุนพิเศษสหประชาชาติ (United Nations Special Fund :UNSF) องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) และรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ภายใต้ชื่อ ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย เป็นโครงการระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2504-2508) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจการบินพลเรือนระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เจริญรุดหน้าทันกับเทคโนโลยีตามที่องค์การการบินพลเรือนระหว่าง ประเทศกำหนดไว้ ในภาคผนวกแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 รัฐบาลไทยได้รับมอบศูนย์ฝึการบินพลเรือนในประเทศไทยมาดำเนินการ โดยให้มีฐานะเป็นสถานฝึกอบรมอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการบินพาณิชย์ (ปัจจุบันคือกรมการบินพลเรือน) กระทรวงคมนาคม ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2509 และในปี พ.ศ. 2530 รัฐบาลได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการบินพาณิชย์ใหม่ โดยได้จัดตั้งศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย (มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกอง) ในกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม เืพื่อให้การปฎิบัติราชการเกิดความคล่องตัว มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพงานในขณะนั้น
ด้วยความสำคัญของการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้วนการบิน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยังการพัฒนาประเทศชาติโดยรวม และเพื่อให้การบริหารงานของภาครัฐมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพเพิ่มยิ่ง ขึ้น รัฐบาลจึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ.2535 แปรสภาพศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย เป็น สถาบันการบินพลเรือน รัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม
พันธกิจ
- ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมการบินให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลอย่างเพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศและสอดคล้องกับความต้องการของภูมิภาค
- ศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีและบริการด้านการขนส่งทางอากาศ เผยแพร่ความรู้ ให้คำปรึกษา แนะนำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของระบบขนส่งทางอากาศยานของไทยในภูมิภาคเอเชีย
- เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยาน
- ขยายการให้บริการอากาศยานและสร้างบริการใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาและให้บริการกับหน่วยงานภายนอก
- สนับสนุนกรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม ในการดำเนินงานตามนโยบายของภาครัฐ ให้เป็นไปตามพันธกรณีตามอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ และดำเนินการทดสอบบุคลากรด้านการบินเพื่อขอรับใบอนุญาตบุคคลตามที่ได้รับมอบหมาย
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 6 ให้สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) มีวัตถุประสงค์ในการจัดดำเนินการผลิตและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบิน และดำเนินกิจการเกี่ยวกับบริการช่างอากาศบริการอากาศยานและกิจการอื่นเกี่ยว กับการบินเพื่อประโยชน์ในการผลิตบุคลากรดังกล่าว สบพ.มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ ฝึกอบรมด้านกิจการบินพลเรือนระหว่างประเทศให้ได้มาตราฐานตามที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ(ICAO) ได้ระบุไว้ในอนุสัญญาการบินระหว่างประเทศ และรับผิดชอบการฝึกอบรมภายในประเทศ ให้สอดคล้องตามกฏหมายเกี่ยว กับการเดินอากาศภายในประเทศ ผลิตบุคลากรด้านการบินพลเรือนให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศเพื่อสนับสนุนหน่วยงานการขนส่งทางอากาศ ของภาครัฐและเอกชน ให้เป็นไปตามแผนพัฒนาบุคลากรการบินของประเทศ บริการช่างอากาศ บริการอากาศยาน และกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับกิจการการบิน
เป้าหมายขององค์กร
สถาบันการบินพลเรือนดำเนินภารกิจตามเป้าประสงค์ขององค์กรเพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- พัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการบินและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินชั้นนำของเอเชีย
- เสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศในการเป็นศูนย์กลางการศึกษา ฝึกอบรม การวิจัย และพัฒนาในระดับภูมิภาครวมทั้งเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
- ดำรงรักษาคุณภาพ และมาตรฐานทางการศึกษาของบุคลากรด้านการบิน
- ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการบินได้เพียงพอต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบินของประเทศและภูมิภาค
- ผู้สำเร็จการศึกษา / ฝึกอบรมมีความรู้ความสามารถ มีทักษะความชำนาญตามมาตรฐานสากล เป็นที่ต้องการของหน่วยงานในอุตสาหกรรมการบิน
- เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร และการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
- พนักงานมีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองตลอดเวลา มีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างรายได้ และควบคุมค่าใช้จ่ายเพื่อลดการพึ่งพางบประมาณภาครัฐในส่วนที่มิใช่งบลงทุน
ข้อมูลจาก : CATC